แผนกต่างๆ

ระเบียบการหอพักนักเรียนประจำ

สถานที่ตั้งหอพัก : บริเวณตึกมัธยม 

๑. มีไว้เพื่ออะไร เพื่อใคร
เพื่อรับนักเรียนที่อยู่ไกลหรืออยู่ต่างจังหวัดได้มีที่พักอาศัย
อันสะดวกสบาย และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาเล่าเรียนที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาตนเองในด้านระเบียบวินัย การพึ่งตนเอง
การเจริญชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและสันติ และสร้างมิตรภาพที่ดีในระหว่างนักเรียน
เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้มีการศึกษาที่ดี และฝึกฝนในด้านระเบียบวินัย
และพัฒนาการด้านอื่น ๆ พร้อมกันไปด้วย
๒. ใครเป็นผู้ดำเนินการ
หอพักนักเรียนประจำมีผู้บริหารเป็นนักบวชซาเลเซียน ร่วมกับครูอาจารย์ที่ได้รับการฝึกฝนในด้านการดูแลอย่างใกล้ชิด ตามแนวการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก ซึ่งเป็น บิดาและอาจารย์ของเยาวชน
๓. มีไว้เพื่ออะไร เพื่อใคร
๓.๑ นักเรียนจะสมัครเข้าเป็นนักเรียนประจำต้องเป็นนักเรียนชาย ตั้งแต่ชั้น ป.๔ ถึงชั้น ม.๖
๓.๒ ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
๓.๓ มีความปรารถนาที่จะอยู่หอพักด้วยความเต็มใจและยินดี
๔. ขั้นตอนการรับเข้าหอพัก
๔.๑ ติดต่อขอใบสมัครที่ห้องธุรการ
๔.๒ ผู้ปกครองนำเด็กมาสมัครและสัมภาษณ์กับอธิการหรือผู้รับผิดชอบนักเรียนประจำ
๔.๓ สอบข้อเขียนสำหรับชั้น ม.๑ และ ม.๔ ตามกำหนดการของโรงเรียน
๔.๔ เอกสารที่ต้องนำมาแสดงเมื่อมามอบตัว (กรณีรับเข้าเป็นนักเรียนประจำ) มีดังนี้
๑) ปพ.๑
๒) ใบสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบิดา มารดา และนักเรียน
๓) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๓ รูป
๔) ใบรับศีลล้างบาป ใบรับศีลกำลัง (สำหรับนักเรียนคาทอลิก)
๕) ชำระค่าพัฒนาคุณภาพการศึกษา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของแผนกประจำ
๕. ค่าใช้จ่าย
๕.๑ ค่าหอพัก ค่าน้ำ ค่าไฟ (ห้องนอน ห้องเรียน ปรับอากาศ) ค่าซักรีด ค่าอาหาร
๕.๒ ค่าบำรุงหอพัก (เฉพาะนักเรียนใหม่)
๕.๓ ค่าพัฒนาคุณภาพการศึกษา ค่าเรียนพิเศษ ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ค่ากิจกรรม
๕.๔ เงินฝากค่าขนมประจำวัน ค่าเครื่องเขียน ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
๕.๕ ค่าใช้จ่ายนี้ต้องชำระในวันที่นำนักเรียนมาเข้าเรียนแต่ละภาค และเมื่อเปิดภาคเรียนได้เกิน ๗ วันแล้ว
ถือว่าอยู่เต็มภาคเรียน ซึ่งโรงเรียนจะไม่คืนเงินให้
๕.๖ ถ้านักเรียนลาออกระหว่างปีภาคการศึกษา จะต้องเสียค่าชดเชยให้แก่โรงเรียนคนละ ๕,๐๐๐ บาท
๖. การกลับบ้านและการเข้าออกหอพัก
๖.๑ การเริ่มภาคเรียนใหม่ทุกภาค นักเรียนประจำจะต้องเข้าหอพักอย่างน้อย ๑ วันก่อนวันเปิดภาคเรียน
๖.๒ ตามปกติ โรงเรียนมีอนุญาตให้นักเรียนกลับบ้านได้ ๒ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง ทุกครั้งที่กลับบ้านนักเรียน
ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้ใหญ่ และต้องกลับเข้าหอพักก่อนเวลา ๑๗.๐๐ น. ของวันที่กำหนดและไม่อนุญาต
ให้นักเรียนไปพักค้างแรมบ้านเพื่อนโดยเด็ดขาด
๖.๓ ทุกวันอาทิตย์ นักเรียนสามารถออกนอกบริเวณหอพักได้ตั้งแต่เวลา ๑๒.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๓๐ น.
๖.๔ ทุกครั้งที่กลับเข้าหอพักไม่ตรงตามกำหนดเวลา ผู้ปกครองจะต้องแจ้ง/ชี้แจงเหตุผลต่อผู้รับผิดชอบ
ด้วยตนเอง
๗. การติดต่อกับนักเรียนประจำ
๗.๑ หอพักกำหนดเวลาให้ผู้ปกครองโทรศัพท์มาคุยกับนักเรียนประจำได้ตั้งแต่เวลา ๑๘.๓๐-๑๙.๕๐ น.
ของทุกวัน
๗.๒ ผู้ปกครองสามารถมาเยี่ยมเยียนบุตรหลานได้วันเสาร์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๕.๓๐ น. หรือในวันเวลาอื่นที่มีความจำเป็น แต่ไม่อนุญาตให้นำนักเรียนออกนอกบริเวณโรงเรียน หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบก่อน
และวันอาทิตย์ เวลา ๑๒.๐๐-๑๖.๓๐ น.
๘. การรักษาพยาบาล
๘.๑ เมื่อนักเรียนได้รับอุบัติเหตุ ทางโรงเรียนจะประสานกับโรงพยาบาลในจังหวัดอุดรธานีที่ทำประกันไว้
เพื่อเข้ารับการรักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามวงเงินที่มีประกัน หากค่ารักษาพยาบาลเกินผู้ปกครองต้องรับผิดชอบจ่ายตามส่วนเกินนั้น
๘.๒ ในกรณีที่ป่วยไข้เล็กน้อยที่ไม่อยู่ในข่ายอุบัติเหตุ ทางหอพักจะจัดการให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือคลินิก ถ้ามีอาการหนัก ทางหอพักจะปรึกษากับผู้ปกครองเพื่อดำเนินการรักษาต่อไป
๙. ระเบียบข้อบังคับทั่วไป
๙.๑ นักเรียนประจำต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
๙.๒ จดหมายหรือพัสดุที่นักเรียนส่ง/รับ จะต้องผ่านผู้ใหญ่ทุกครั้ง
๙.๓ ห้ามนักเรียนออกนอกเขตโรงเรียน โดยไม่ได้รับอนุญาต
๙.๔ ตามปกติไม่อนุญาตให้นักเรียนขับขี่หรือนั่งรถจักรยานยนต์โดยเด็ดขาด
๙.๕ นักเรียนต้องอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ และให้ความเคารพผู้ใหญ่ทุกท่านเสมือนเป็นบิดามารดาของนักเรียน
๙.๖ ก่อนลงจากหอพักเพื่อไปทานอาหารเช้า นักเรียนต้องแต่งกายชุดนักเรียนให้เรียบร้อย ซึ่งตามปกติ
ต้องเรียบร้อยก่อนออกจากห้องนอน
๙.๗ ทางหอพักจะจ่ายค่าขนมประจำวันให้นักเรียนวันละ ๔๐ บาท (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) และไม่อนุญาตให้นักเรียนมีเงินเก็บไว้กับตัวเองเกิน ๓๐๐ บาท รวมทั้งของมีค่าอื่น ๆ เช่น สร้อยทอง
แหวนทอง เสื้อผ้าหรือรองเท้าราคาแพง เป็นต้น
๙.๘ หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน เช่น การ์ตูน เกม แฟชั่น นวนิยาย ฯลฯ ต้องได้รับการตรวจและเซ็นชื่อจากผู้ใหญ่เสียก่อน
๙.๙ ไม่อนุญาตให้นักเรียนมีอาวุธหรือสิ่งของมีคม หรือสิ่งที่อาจเป็นภัยต่อผู้อื่นไว้ในครอบครอง
๙.๑๐ นักเรียนต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย จัดสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ เสื้อผ้า
ทุกชิ้นต้องปัก/เขียนเบอร์ประจำตัวนักเรียนให้ครบและชัดเจน เพื่อสะดวกในการแจกให้แต่ละคน
๙.๑๑ ให้นักเรียนรู้จักเล่นกีฬา หรืออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
๙.๑๒ ให้นักเรียนใช้วาจาที่ไพเราะ เว้นจากคำหยาบคาย สามหาว หรือเรื่องลามกไม่สร้างสรรค์
๙.๑๓ ห้องนอน ห้องเรียน และห้องน้ำ เป็นสถานที่ที่ต้องเงียบและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ
๙.๑๔ ห้องเรียนพิเศษเป็นสถานที่เรียนส่วนตัว จึงต้องรักษาบรรยากาศของการเรียน ไม่รบกวนผู้อื่น และไม่ควรมีสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนอยู่ในห้องเรียน
๙.๑๕ นักเรียนคนใดทำสมบัติ/สิ่งของของโรงเรียน/หอพักเสียหาย ต้องชดใช้ทุกครั้ง
๙.๑๖ นักเรียนต้องไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสาร (เป็นต้น โทรศัพท์มือถือ) หรืออุปกรณ์เล่นเกม นอกเหนือจากเวลาที่หอพักกำหนดให้ใช้หรือในสถานที่ที่ห้ามใช้ และต้องเก็บรักษาไว้ในที่ที่หอพักกำหนดให้ หากฝ่าฝืนทางหอพักสามารถยึดและไม่อนุญาตให้ใช้อีกต่อไป
๙.๑๗ ไม่อนุญาตให้นักเรียนนำเครื่องเสียง คอมพิวเตอร์หรือเครื่องโน้ตบุ๊คมาใช้ในหอพักหรือโรงเรียน
๙.๑๘ การอนุญาตให้ออกไปข้างนอกในวันอาทิตย์ จุดประสงค์สำคัญเพื่อเป็นการให้รางวัลแก่นักเรียน
ที่ประพฤติดี และเพื่อให้ทำธุระส่วนตัว เช่น ซื้อของใช้ ตัดผม เป็นต้น
๑๐. เสื้อผ้าและเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมมาจากบ้าน
๑๐.๑ เครื่องแบบนักเรียน (เสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงสีน้ำเงิน) อย่างน้อย ๓ ชุด และชุดใส่อยู่บ้าน/เที่ยวตาม
ความเหมาะสม
๑๐.๒ รองเท้านักเรียน (สีดำ) จำนวน ๑ คู่
๑๐.๓ ถุงเท้านักเรียน (สีขาว-สั้น) จำนวน ๔ คู่
๑๐.๔ เครื่องแบบลูกเสือ
๑๐.๕ กางเกงใน ผ้าเช็ดหน้า (พอสมควร)
๑๐.๖ ผ้าเช็ดตัว ๒ ผืน
๑๐.๗ กระป๋องพลาสติก และขันน้ำ อย่างละ ๑ ใบ
๑๐.๘ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผงซักฟอก เครื่องใช้ส่วนตัวอื่น ๆ
๑๐.๙ ผ้าห่มนอน ๑ ผืน
๑๑. การจำหน่ายออกจากหอพัก
๑๑.๑ สูบบุหรี่ สิ่งเสพติด ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
๑๑.๒ หนีหรือออกนอกหอพักโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ยอมอยู่ในโอวาทของผู้ใหญ่
๑๑.๓ มีหนังสือ รูปภาพ วีดีโอ แผ่นซีดี ดีวีดี หรือสื่อลามกไว้ในครอบครอง
๑๑.๔ ประพฤติผิดทางเพศ เช่น ชู้สาว เป็นต้น
๑๑.๕ ขโมย ซื้อ-ขาย สิ่งของ/ยาเสพติดในโรงเรียน

ฝ่ายธุรการ-การเงิน

สถานที่ตั้ง : มุขกลางอาคาร DON BOSCO 

เวลาทำการ

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๗.๓๐-๑๗.๐๐ น.

วันเสาร์        เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.

หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ

การชำระค่าธรรมเนียมการเรียน         โดยการชำระผ่านธนาคาร ใน ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน

ภาคเรียนที่ ๑ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน

ภาคเรียนที่ ๒ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

การรับนักเรียนใหม่               

รับสมัครทั้งนักเรียนชายและหญิง

การจำหน่ายใบสมัคร : ที่ห้องธุรการ ในเวลาทำการ

ระดับชั้นอนุบาล

๑. วันรับสมัครชั้นอนุบาล ๑ : เดือนธันวาคม หรือติดต่อสอบถามได้ที่ห้องธุรการ

๒. คุณสมบัติของผู้สมัครระดับชั้นอนุบาล

๒.๑ อายุของผู้สมัคร

ชั้นอนุบาล ๑ อายุครบ ๓ ปี (นับถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม)

ชั้นอนุบาล ๒ อายุครบ ๔ ปี (รับเดือนเมษายน เฉพาะเมื่อมีที่ว่าง)

ชั้นอนุบาล ๓ อายุครบ ๕ ปี (รับเดือนเมษายน เฉพาะเมื่อมีที่ว่าง)

๒.๒ มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง

๒.๓ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจเหมาะสมกับวัย

๒.๔ ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องจำเป็นส่วนตัวได้

๓)   หลักฐานการรับสมัครชั้นอนุบาล ๑

๓.๑ สำเนาสูติบัตรของผู้สมัคร

๓.๒ สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีชื่อบิดา มารดา และผู้สมัคร และหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล

๓.๓ สำเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของพี่ บิดามารดาเดียวกัน (กรณีเรียนที่ ร.ร. ดอนบอสโกวิทยา)

๓.๔ ใบแสดงการรับศีลล้างบาป (เฉพาะผู้ที่เป็นคาทอลิก)

๔)   ขั้นตอนการสมัคร

๔.๑ กรอกใบสมัครที่ห้องธุรการ (เขียนอ่านง่าย ครบถ้วน)

๔.๒ ผู้ปกครองนำเด็กเข้าพบผู้อำนวยการตามวันเวลานัดหมาย

การรับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ป.๑

๑. นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ของโรงเรียนดอนบอสโกวิทยาที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๒. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในกิจกรรมต่าง ๆ

๓. ไม่ติดค้างชำระค่าใช้จ่ายของโรงเรียน

๔. มอบตัวและชำระค่าใช้จ่ายตามวันเวลาที่โรงเรียนกำหนด

๕. ต้องเรียนปรับพื้นฐานภาคฤดูร้อน เดือนเมษายน

ระดับชั้น ม.๑ และ ม.๔

๑. วันรับสมัคร : ชั้น ม.๑ เดือน ชั้น ม.๔ เดือนมกราคมกุมภาพันธ์ หรือติดต่อสอบถามได้ที่ห้องธุรการ

๒. หลักฐานการรับสมัคร

๒.๑ สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบิดา มารดา และผู้สมัคร และหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล

๒.๒ รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว ๒ รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน

๒.๓ สำเนาวุฒิบัตร เกียรติบัตรที่แสดงถึงความสามารถด้านต่าง ๆ

๒.๔ ใบแสดงการรับศีลล้างบาป (เฉพาะนักเรียนคาทอลิก)

๒.๕ ค่าสมัคร

๒.๖ ใบสมัครที่กรอกข้อความครบถ้วน (เขียนอ่านง่าย)

๓. วิชาที่สอบ (เฉพาะนักเรียนสอบเข้าชั้น ม.๑)

๓.๑ คณิตศาสตร์ (๓๐ ข้อ)                 ๓.๒ ภาษาอังกฤษ (๓๐ ข้อ)

๓.๓ วิทยาศาสตร์ (๒๐ ข้อ)                 ๓.๔ ภาษาไทย (๒๐ ข้อ)

๔. วิชาที่สอบ (เฉพาะนักเรียนสอบเข้าชั้น ม.๔)

๔.๑ คณิตศาสตร์ (ได้คะแนนร้อยละ ๕๐)

๔.๒ วิทยาศาสตร์ (ได้คะแนนร้อยละ ๒๕)

๔.๓ ภาษาอังกฤษ (ได้คะแนนร้อยละ ๒๕)

๕. แต่งชุดนักเรียน : วันสมัคร วันสอบ วันมอบตัว

๖. เฉพาะนักเรียนชั้น ป.๖ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๖.๑ ป.๖ โควต้า

๖.๑.๑  มีความประพฤติเรียบร้อย

๖.๑.๒  ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการติดตามเอาใจใส่นักเรียน

๖.๑.๓  มีผลการเรียนเฉลี่ย ๕ ภาคเรียน คือ ป.๔ ป.๕ และ ป.๖ (ภาคเรียนแรก

ร้อยละ ๗๕ ขึ้นไป)

๖.๑.๔  ต้องผ่านการสอบเข้าและได้คะแนนร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป

๖.๒ ป.๖ ไม่ถึงเกณฑ์โควต้า หรือสละสิทธิ์โควต้า

๖.๒.๑  เหมือนข้อ ๖.๑.๑ และ ๖.๑.๒

๖.๒.๒  ต้องผ่านการสอบเข้า

๖.๒.๓  เรียนปรับพื้นฐานภาคฤดูร้อน (เดือนเมษายน)

๗.   ป.๖ จากโรงเรียนอื่น

๗.๑ ต้องผ่านการสอบเข้าและสอบสัมภาษณ์

๗.๒ เรียนปรับพื้นฐานภาคฤดูร้อน กรณีผ่านข้อ ๗.๑

๘.   นักเรียนชั้น ม.๓ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา : ต้องผ่านการสอบเข้าและสอบสัมภาษณ์

๙.   ม.๓ จากโรงเรียนอื่น : ต้องผ่านการสอบเข้าและสอบสัมภาษณ์

กำหนดสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ประกาศผลสอบ และมอบตัวลงทะเบียน

ประกาศจากห้องธุรการ

กำหนดเวลาเรียน

๑. ภาคปกติ  แต่ละปีการศึกษา แบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน

ภาคเรียนที่ ๑   พฤษภาคม-ต้นเดือนตุลาคม

ภาคเรียนที่ ๒   พฤศจิกายน-ต้นเดือนมีนาคม

๒. ภาคฤดูร้อน

            ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมต้น (อ.๑-ม.๓)

                 ภาคฤดูร้อน ๑ : มีนาคม  เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น.

                 ภาคฤดูร้อน ๒ : เมษายน เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น.

หมายเหตุ :

๑. ภาคฤดูร้อน ๒ ชั้นอนุบาล ๑ ป.๑ และ ม.๑ ไม่รับนักเรียนต่างโรงเรียน

๒. นักเรียนเข้าใหม่ทุกคนต้องเรียนเตรียมความพร้อมหรือปรับพื้นฐานในภาคฤดูร้อน ๒

ห้องทะเบียน 

สถานที่ตั้ง : บริเวณชั้นล่าง อาคาร DON BOSCO 

เปิดบริการ  วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.

ห้องทะเบียนเป็นหน่วยงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน อันประกอบด้วยข้อมูลโรงเรียน ครู

นักเรียน หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล นักเรียน ผู้ปกครอง เช่น การเปลี่ยนชื่อ-สกุล ย้ายที่อยู่ ให้นำสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนแปลงจากทางราชการมายื่นที่แผนกทะเบียน ส่วนนักเรียน และผู้ปกครองที่ประสงค์จะติดต่อ

ขอรับเอกสาร หรือหลักฐานต่าง  ๆ ทางการศึกษาให้ติดต่อ ยื่นคำร้องตามความประสงค์ได้

การขอรับหลักฐานทางการศึกษาประเภทต่าง ๆ อาจต้องใช้หลักฐานอื่นยื่นประกอบ และรูปถ่าย ๒ นิ้ว

ซึ่งนักเรียน และผู้ปกครองสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ห้องทะเบียน หรือห้องธุรการ

บทบาทและหน้าที่ของงานทะเบียน 

             ดำเนินการจัดทำ ทะเบียนประวัติย่อของนักเรียนในสมุดทะเบียนนักเรียน เมื่อมีนักเรียนขอลาออก

ระหว่างปีหรือจบการศึกษาได้ดำเนินการจำหน่ายนักเรียนออกจากทะเบียนนักเรียนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

   ดำเนินงานเกี่ยวกับรับคำร้อง ขอแก้ไขหลักฐานในทะเบียนนักเรียน เช่น แก้ชื่อ ชื่อสกุล วัน เดือน

ปีเกิด หรืออื่น ๆ และดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักฐานความเป็นจริงทุกครั้งที่มีการแก้ไขให้นำเสนอผู้อำนวยการลงนาม

   จัดทำและตรวจสอบระเบียบแสดงผลการเรียน (รบ.๑ต., รบ.๑บ.-ป, ปพ.-๑) ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ออกใบระเบียบแสดงผลการเรียน ให้นักเรียนที่จบการศึกษา หรือนักเรียนที่ประสงค์ขอลาออกโดยดำเนินตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียน จัดเก็บหลักฐานตามระเบียบให้เรียบร้อยและปลอดภัย

   ตรวจสอบแสดงผลการเรียน (รบ.๑, ปพ.๑) สำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาในช่วงชั้นที่ ๓ และ ๔

พร้อมทั้งให้คณะกรรมการลงนามรับรองความถูกต้องว่าจบหลักสูตรจริงด้านหลัง ปพ.๑ ทุกแผ่น และผู้อำนวยการลงนามใน รบ.๑-ต, รบ.๑-ป, ปพ.๑)

–  จัดทำแบบรายงานผลการเรียนของผู้ที่จบหลักสูตร ให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายใน ๓๐ วัน หลังวันอนุมัติผลการเรียนต่อเขตพื้นที่การศึกษาและเก็บไว้ที่โรงเรียน

–  ดำเนินการเขียน-พิมพ์ใบประกาศนียบัตร หรือ ปพ.๒ จัดทำทะเบียนควบคุมการออกประกาศนียบัตร หรือ ปพ.๓ ให้ถูกต้องเรียบร้อย ควบคุมดูแลการจ่ายประกาศนียบัตร

–  ดำเนินการในการออกเอกสารรับรองผลการเรียน หรือ ปพ.๗ เอกสารรับรองการเป็นนักเรียน

เอกสารแสดงผลการเรียนภาษาอังกฤษ และเอกสารรับรองอื่น ๆ ที่นักเรียนยื่นคำร้องขอ

–  ดำเนินการออกใบรับรองผลการเรียน (รบ.๑-ต, ป), (ปพ.๑-ต,ป) ฉบับที่ ๒ ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายก่อนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยื่นคำร้องขอ

โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและแนวปฏิบัติ

–  ดำเนินการให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในการตรวจสอบคุณวุฒินักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้ว และต้องดำเนินการตรวจสอบหลักฐานคุณวุฒินักเรียนใหม่ที่เข้าเรียน ให้ความร่วมมือ

การตอบหนังสือสอบถามที่มีการสอบถามมาตามระเบียบและแนวปฏิบัติของทางราชการ

–  ดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้องต่าง ๆ เช่น การผ่อนผันการเรียนและการหยุดพักการเรียน

การเปลี่ยนแปลงรายวิชาเรียน ระเบียบแสดงผลการเรียนต่าง ๆ ในประกาศนียบัตรแบบรายงานผลการเรียนของผู้ที่จบหลักสูตรแบบ ปพ. ต่าง ๆ และดูแลรักษา พัสดุครุภัณฑ์ ฯลฯ ให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกรวดเร็วในการดำเนินงานและไม่สูญหาย

–  ดำเนินการพิมพ์ใบรับรองผลการเรียน สำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่และยังไม่จบหลักสูตร

(รบ.๕, ปพ.๗) จัดเก็บรูปถ่ายเพื่อทำใบ รบ.๑-ต, ป, ปพ.๑-ต, ป, และ รบ.๕, ปพ.๗

–  ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนนักเรียนที่ย้ายสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และหลักสูตรเดิม กรณีรับย้ายนักเรียนที่มีปัญหาจากโรงเรียนอื่น ๆ เมื่อเทียบเรียบร้อยแล้ว ก็เสนอแต่งตั้ง

คณะกรรมการพิจารณาหลักฐานการศึกษา ความรู้ประสบการณ์ ความสามารถ และการปฏิบัติจริงตามกฎกระทรวงและระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

–  วางแผนการบริหารงานและจัดทำแผนปฏิบัติงาน/โครงการ/งาน ปฏิทินงานกลุ่มงานทะเบียน

–  ปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนของโรงเรียน

–  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานงานทะเบียน

–  ดำเนินการ รับมอบตัว ลงทะเบียนประวัตินักเรียน และจำหน่ายนักเรียน

–  จัดทำ ตรวจสอบ และออกเอกสารหลักฐานทางการศึกษา และใบประกาศนียบัตร

–  บริการตรวจสอบวุฒิการศึกษา แก้ไขหลักฐานต่าง ๆ และการลาออกของนักเรียน

–  จัดทำและเก็บรักษาเอกสาร หลักฐานทางการศึกษา และงานทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน

–  จัดทำแบบฟอร์ม สถิติ ข้อมูลสารสนเทศงานทะเบียน

–  จัดทำระเบียบ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียน

–  วิเคราะห์งาน รวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา

–  วางแผนการบริหารงานวัดผลและจัดทำแผนปฏิบัติงาน/โครงการ/งาน ปฏิทิน

งานวัดและประเมินผล

–  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานวัดผล

–  จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผล แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานวัดผล

–  ดำเนินงานพัสดุของงานวัดผล

–  ประสานงานเกี่ยวกับงานวัดผลกับเจ้าหน้าที่วัดผลกลุ่มสาระฯ

–  รับผล ตรวจสอบความถูกต้องกับงานคอมพิวเตอร์และเก็บหลักฐานผลการเรียน

–  วิเคราะห์งาน รวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา

–  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการมอบหมาย

ขอบข่ายงานทะเบียน 

–  งานรับนักเรียนใหม่ การมอบตัว/การตรวจสอบ และจัดเก็บเอกสารมอบตัว

–  งานทะเบียนประวัติของนักเรียน

–  งานจำหน่ายนักเรียนออกจากทะเบียนนักเรียน

–  งานสถิติข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนและจำนวนนักเรียน

–  งานออกเอกสารแสดงผลการเรียนของนักเรียนที่จบการศึกษาแล้วและที่กำลังศึกษา

–  งานเก็บเอกสารแสดงผลการเรียนของนักเรียนทั้งหมด

–  งานตรวจสอบวุฒิการศึกษาของนักเรียนที่หน่วยงานอื่นประสานมา

–  จัดทำรายงานผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) และลำดับผลการเรียน (Pr) ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๓ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

–  จัดทำแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา

–  ตรวจสอบโปรแกรมการเรียนและเทียบโอนผลการเรียนของนักเรียนที่ย้ายเข้าเรียนระหว่างปีการศึกษา

–  ประสานการประเมินผลการเรียนและเทียบโอนผลการเรียนของนักเรียนที่ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ

–  งานสถิติข้อมูลงานทะเบียน

–  ภาระงานเฉพาะกิจที่โรงเรียนมอบหมาย

การติดต่องานทะเบียน 

๑.    เวลาติดต่องานทะเบียน

–  เวลาราชการ ๐๗.๓๐-๑๖.๔๕ น. ยกเว้น วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

๒.    การขอเอกสารทางการศึกษา

๒.๑ นักเรียนปัจจุบัน

–  นักเรียนต้องเขียนคำร้องด้วยตนเองในใบคำร้อง

–  กรอกข้อมูลด้วยตัวบรรจงและชัดเจน

–  คำร้องภาษาอังกฤษเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ ชื่อและนามสกุลเขียนให้ตรงกับชื่อ-นามสกุล

ใน Passport

–  เอกสารที่ต้องติดรูป ใช้รูปถ่ายขาวดำ ขนาด ๓x๔ เซนติเมตรหรือ ๑.๕ นิ้ว

(ไม่รวมกรอบ) แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน และต้องไม่เป็นรูปถ่ายโพลารอยด์ รูปถ่ายสติ๊กเกอร์ หรือภาพสแกน และเขียนชื่อ-นามสกุลหลังรูปถ่ายทุกใบ

–  รับเอกสารหลังจากยื่นคำร้องแล้ว ๑ วันทำการ สำหรับนักเรียนปัจจุบัน ไม่นับวันหยุดราชการ

–  นักเรียนปัจจุบันต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนเมื่อมาติดต่อกับงานทะเบียนทุกครั้ง

–  นักเรียนทุกคนควรวางแผนการขอเอกสารทุกประเภทไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะช่วงปิด

ภาคเรียน

–  นักเรียนควรทำเรื่องขอเอกสารล่วงหน้ามิฉะนั้นจะไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร

๒.๒ สำหรับศิษย์เก่า

–  เขียนคำร้องขอเอกสารที่ห้องทะเบียน

–  ต้องแต่งกายสุภาพ

–  ถ้าต้องการขอเอกสารการจบการศึกษาให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

ศิษย์เก่าที่ใช้ใบ รบ.

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม

๑)   รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่ติดเครื่องหมายใด ๆ

และถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน

๒)   ใบแจ้งความเอกสารหาย แต่ถ้าเอกสารชำรุดให้นำมาแสดงโรงเรียนจะออก

เอกสารใหม่ ให้รับเอกสารที่ขอไว้ได้ภายใน ๗ วันทำการ

ศิษย์เก่าที่ใช้ใบ ปพ.

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม

๑)   รูปถ่ายขนาด ๓x๔ จำนวน ๒ รูป ใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่ติดเครื่องหมายใด ๆ

และถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน

๒)   ใบแจ้งความเอกสารหาย แต่ถ้าเอกสารชำรุดให้นำมาแสดงโรงเรียนจะออก

เอกสารใหม่ ให้รับเอกสารที่ขอไว้ได้ภายใน ๗ วันทำการ

–  ศิษย์เก่ามารับเอกสารได้ภายใน ๗ วันทำการ ไม่นับวันหยุดราชการ

ระหว่างปิดภาคเรียน

๑)   นักเรียนปัจจุบันต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนทุกครั้งที่มาติดต่องานทะเบียน

๒)   นักเรียนชั้น ม.๓ และ ม.๖ ต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนเมื่อมาติดต่องานทะเบียนจนถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม หลังจากนั้นแต่งกายสุภาพ

ห้องสมุด

สถานที่ตั้ง     ชั้น ๒ อาคารบอสโกนุสรณ์ ๒๐๐ ปี

เวลาทำการ   เวลา ๐๗.๒๐-๑๕.๐๐ น.

๑.    สมาชิกห้องสมุด ได้แก่

๑.๑ อาจารย์โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๑.๒ นักเรียนโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๑.๓ พนักงานโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๒.    เวลาให้บริการห้องสมุด

ระดับประถมศึกษา

เปิดให้บริการจันทร์ถึงศุกร์ เวลา  ๐๗.๒๐ – ๐๗.๔๐ น.

เวลา  ๑๑.๔๐ – ๑๒.๐๕ น.

ระดับมัธยมศึกษา

เปิดให้บริการจันทร์ถึงศุกร์ เวลา  ๐๗.๒๐ – ๐๗.๔๐ น.

เวลา  ๑๐.๑๐ – ๑๐.๓๐ น.     (บริการยืม-คืนเท่านั้น)

เวลา  ๑๒.๒๐ – ๑๒.๕๐ น.

เวลา ๑๔.๔๐ – ๑๕.๐๐ น.    (บริการยืม-คืนเท่านั้น)

๓.    สิทธิ์ในการยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

๓.๑ อาจารย์                     ยืมได้ ๕ เล่ม/ชิ้น

๓.๒ นักเรียนระดับประถมศึกษา ยืมได้ ๑ เล่ม/ชิ้น

๓.๓ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ยืมได้ ๓ เล่ม/ชิ้น

๓.๔ พนักงาน                    ยืมได้ ๒ เล่ม/ชิ้น

๔.    ประเภททรัพยากรสารสนเทศที่ยืมได้และจำนวนวันที่ยืมได้

๔.๑ หนังสือและคู่มือและแบบเรียน

อาจารย์                     ยืมได้ ๑๔ วัน

นักเรียนระดับประถมศึกษา ยืมได้ ๗ วัน

นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ยืมได้ ๗ วัน

พนักงาน                    ยืมได้ ๗ วัน

๔.๒ หนังสือการ์ตูน หนังสือนิทาน และสื่อโสตทัศนวัสดุ

อาจารย์                     ยืมได้ ๒ วัน

นักเรียนระดับประถมศึกษา ยืมได้ ๒ วัน

นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ยืมได้ ๒ วัน

พนักงาน                    ยืมได้ ๒ วัน

๔.๓ หนังสืออ้างอิง (กรณียืมพิเศษ)

อาจารย์                     ยืมได้ ๓ วัน

นักเรียนระดับประถมศึกษา ยืมได้ ๑ วัน

นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ยืมได้ ๑ วัน

พนักงาน                    ยืมได้ ๑ วัน

๔.๔ คู่มือครู

อาจารย์                     ยืมได้ ๑๔ วัน

นักเรียนระดับประถมศึกษา ยืมได้ ๒ วัน

นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ยืมได้ ๒ วัน

พนักงาน                    ยืมได้ ๒ วัน

หมายเหตุ ๑. หนังสืออ้างอิง วารสาร และวารสารเย็บเล่ม ให้อ่านภายในห้องสมุดเท่านั้น

๒. การยืมทรัพยากรสารสนเทศต่อ (ข้อ ๔.๑-๔.๔) สามารถขอใช้บริการได้ ๒ ครั้ง/

ชื่อเรื่อง ยกเว้นกรณีทรัพยากรสารสนเทศถูกจอง

๕.    วิธีการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

๕.๑ สมาชิกห้องสมุดเข้าแถวตามลำดับการมาก่อน-หลัง

๕.๒ แจ้งรหัสประจำตัว พร้อมทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการยืมหรือคืน โดยเจ้าของรหัส

ต้องเป็นผู้ยืมและคืนด้วยตนเองเท่านั้น

๖.    อัตราค่าปรับ

๖.๑ กรณีคืนทรัพยากรสารสนเทศเกินกำหนด คิดอัตราค่าปรับ ๕ บาท/เล่ม/วัน

๖.๒ กรณีทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย ชำรุด หรือขีดเขียน คิดอัตราค่าปรับตามราคาของ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ทำสูญหาย ชำรุด หรือขีดเขียน และค่าดำเนินการ ๒๐ บาท

มารยาทในการใช้ห้องสมุด

๑.   ลงชื่อเข้าใช้บริการห้องคอมพิวเตอร์ได้ที่เคาน์เตอร์ให้บริการยืมคืน และนั่งตามหมายเลขเครื่อง

ที่ได้ลงชื่อไว้

๒.   สมาชิกห้องสมุดสามารถใช้บริการห้องคอมพิวเตอร์ได้ ๑ ครั้ง ต่อ ๑ สัปดาห์

(ไม่รวมกรณีเข้าใช้เรียน)

๓.   ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งาน หากพบว่า อุปกรณ์สูญหาย หรือคอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้

ให้แจ้งให้บรรณารักษ์ทราบ

๔.   ห้ามถอดอุปกรณ์ใด ๆ หรือเคลื่อนย้าย สลับสายอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์

๕.   ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น ห้ามเล่นเกมส์ หรือเข้าเว็บไซต์บันเทิง

๖.   ห้ามนำซอฟต์แวร์ทุกชนิด มาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนได้รับอนุญาต

๗.   ห้ามนำขนม อาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาในห้องคอมพิวเตอร์

๘.   ไม่ส่งเสียงดัง และวิ่งเล่นในห้องคอมพิวเตอร์

๙.   หลังจากใช้คอมพิวเตอร์แล้ว กรุณาปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และเก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อย

๑๐. กรณีทำอุปกรณ์ในห้องคอมพิวเตอร์เสียหาย คิดอัตราค่าปรับตามราคาของอุปกรณ์

(ประเมินราคาโดยเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์)

            มาตรการลงโทษสำหรับผู้ละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตาม

กฎระเบียบของห้องสมุดและห้องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

         ขั้นที่ ๑   ว่ากล่าวตักเตือน

ขั้นที่ ๒   งดให้สิทธิ์ในการเข้าใช้บริการ ๑ สัปดาห์

ขั้นที่ ๓   ตัดสิทธิ์การเข้าใช้ห้องสมุด ๑ ภาคการศึกษา   

ห้องพยาบาล 

สถานที่ตั้ง    ชั้นล่างอาคาร DON BOSCO ติดกับห้องทะเบียน

๑.    ผู้รับบริการ ได้แก่

๑.๑ อาจารย์โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๑.๒ นักเรียนโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๑.๓ พนักงานโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

๒.    เวลาให้บริการของห้องพยาบาล

วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐-๑๖.๔๕ น.

๓.    ขั้นตอนขอรับบริการ

๓.๑ ติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำห้องพยาบาล เพื่อซักถามอาการเจ็บ/ป่วย

๓.๒ ลงชื่อ-นามสกุล ชั้นเรียน และอาการเจ็บ/ป่วย ใน ชื่อแบบฟอร์ม…….. ทุกครั้งก่อนขอรับบริการ

            ๔.    ข้อปฏิบัติในการขอรับบริการ

๔.๑ ผู้ที่มีอาการเจ็บ/ป่วย และต้องการนอนพักที่ห้องพยาบาล เพื่อกลับเรียนต่อ ต้องไปขออนุญาต และมีใบส่งตัวมานอนพักห้องพยาบาลจากครูที่รับผิดชอบในแต่ละช่วงชั้น โดยมีระยะเวลาในการ

นอนพักไม่เกิน ๑-๒ ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นจะส่งตัวกลับบ้าน

๔.๒ นักเรียนที่เจ็บ/ป่วยมาก ให้แจ้งครูประจำชั้นทราบ เพื่อประสานติดต่อผู้ปกครองมารับ

กลับบ้าน โดยให้นักเรียนมารอผู้ปกครองมารับที่ห้องพยาบาล

๔.๓ นักเรียนที่ได้รับอุบัติเหตุให้แจ้งครูประจำชั้นทราบเพื่อประสานติดต่อผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่

ห้องพยาบาลจะนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้และอยู่ในข้อตกลงของประกัน

๔.๔ กรณีในคาบเรียน หากนักเรียนต้องการขอใช้บริการห้องพยาบาลต้องขออนุญาตจากฝ่ายที่

รับผิดชอบดูแลนักเรียนก่อนและนำใบส่งตัวนักเรียนมาที่ห้องพยาบาล

๔.๕ ห้ามนักเรียนหยิบยารับประทานเอง ถ้ามีการแพ้ยาอะไรให้แจ้งให้ทราบก่อนรับยา

๔.๖ นักเรียนที่ประสงค์จะรักษาและทำความสะอาดแผล

– แผลเก่าให้ทำในเวลาคาบพักเท่านั้น

– แผลใหม่ทำแผลได้ตลอดเวลาที่เปิดบริการ

– ห้ามทำแผลเองก่อนได้รับอนุญาต

– ห้ามหยิบ จับ สำลี ผ้าก๊อต อุปกรณ์ทำแผล

– ลงบันทึกในชื่อแบบฟอร์ม….. ทุกครั้ง

มาตรการลงโทษสำหรับผู้ละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องพยาบาล

กรณีถ้านักเรียนคนใดเข้าห้องพยาบาลโดยไม่มีความจำเป็น หรือถ้าตรวจพบว่าไม่ได้ป่วยจริง หรือเข้ามา

ก่อกวน ส่งเสียงดัง เจ้าหน้าที่ประจำห้องพยาบาลจะส่งชื่อนักเรียนให้ฝ่ายปกครองนักเรียนในระดับชั้นของนักเรียน เพื่อดำเนินการต่อไป

หมายเหตุ

ห้องพยาบาลให้การรักษาอาการป่วยเบื้องต้น และบริการเฉพาะโรคปัจจุบันที่สามารถบำบัดได้ด้วย

ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งไม่ใช่การรักษาที่เกินอำนาจเจ้าหน้าที่ห้องพยาบาล

การทำประกันอุบัติเหตุและการขอค่าสินไหมทดแทน

โรงเรียนดอนบอสโกวิทยาได้จัดทำประกันอุบัติเหตุแก่คณะครู เจ้าหน้าที่ พนักงาน และนักเรียนทุกคนกับ

บริษัทประกันภัยเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีได้รับอุบัติเหตุ เพื่อความสะดวกในการ

ขอค่าสินไหมจากบริษัทประกันภัย จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการประกันอุบัติเหตุและการขอค่าสินไหม โดยมี

ข้อปฏิบัติดังนี้

๑. โรงเรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบในการทำประกันอุบัติเหตุให้คณะครู เจ้าหน้าที่ และพนักงานทุกคน

๒. นักเรียนทุกคนต้องทำประกันอุบัติเหตุโดยจ่ายเบี้ยประกันตามที่โรงเรียนกำหนด

๓. ผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุให้นำหลักฐาน คือ

๓.๑ ใบรับรองแพทย์

๓.๒ ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลฉบับจริงมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ธุรการ พร้อมกรอกรายละเอียดให้ชัดเจน

ในแบบฟอร์ม เพื่อขอค่าสินไหม ตามความคุ้มครองในกรมธรรม์

๔. เมื่อเจ้าหน้าที่ธุรการตรวจดูรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลเรียบร้อยแล้ว ให้ลงชื่อรับเงินค่าสินไหม

ในสมุดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

๕. ในกรณีที่ครู เจ้าหน้าที่ พนักงาน หรือ นักเรียน คนใดได้รับอุบัติเหตุขอให้แจ้งทางโรงเรียนทราบทุกครั้ง

การรักษาพยาบาล       สามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งคลินิก โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน

สถานที่รักษาพยาบาล โรงพยาบาลเอกอุดร

โรงพยาบาลกรุงเทพ

โรงพยาบาลทั้งสองแห่งนี้ไม่ต้องชำระเงินสด โรงพยาบาลจะดำเนินการเรื่อง

ค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันภัย

โรงอาหาร 

สถานที่ตั้ง     ด้านข้างอาคารบอสโกนุสรณ์ ๒๐๐ ปี ระหว่างอาคารเรียนอนุบาลเดิมและอาคารเรียนอนุบาล

เปิดบริการ    วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๖.๓๐-๐๗.๕๐ น. และ เวลา ๑๑.๓๐-๑๒.๕๕ น.

ระเบียบและมารยาทของผู้ใช้บริการโรงอาหาร          

       ๑. ต้องเข้า-ออกตามเวลาที่กำหนด

๒. ต้องเข้าแถวในการเติมเงินและซื้ออาหาร

๓. ต้องรับประทานอาหาร-เครื่องดื่มภายในโรงอาหารเท่านั้น

๔. ต้องเก็บจาน ชาม ช้อน-ส้อม และแก้วน้ำที่ใช้แล้วใส่ใน

ภาชนะที่รองรับไว้ให้ในโรงอาหาร

๕. ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด

งานถ่ายเอกสาร

การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร โรงเรียนได้จัดหาเครื่องถ่ายเอกสารไว้สำหรับบริการคณะครู อาจารย์ นักเรียน

และพนักงานในโรงเรียน เพื่อให้การบริการเครื่องถ่ายเอกสารของโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการใช้อย่างแท้จริงจึงกำหนดระเบียบว่า

ด้วยการใช้เครื่องถ่ายเอกสารขึ้นและให้ทุกคนได้ถือปฏิบัติดังนี้

๑. ผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องถ่ายเอกสารของโรงเรียนได้คือ คณะครู อาจารย์ นักเรียน และพนักงานทุกคนใน

โรงเรียน

๒. โรงเรียนให้บริการถ่ายเอกสารแก่คณะครู อาจารย์ นักเรียน และพนักงาน ตั้งแต่เวลา

๐๗.๓๐-๑๗.๐๐ น. ที่ห้องบริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์ โดยผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าบริการหน้าละ ๑ บาท

ยกเว้น เอกสารสำคัญของโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยฝ่ายฯ แล้วเท่านั้น

๓. ผู้ที่มีความประสงค์จะถ่ายเอกสาร จะต้องนำเอกสารไปขอรับบริการกับเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบทุกครั้ง

ไม่อนุญาตให้ผู้รับบริการถ่ายเอกสารเอง ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบเท่านั้น

๔. สำหรับครูอาจารย์ของโรงเรียนที่มีความประสงค์จะถ่ายเอกสาร เช่น ข้อสอบหรือเอกสาร เพื่อใช้

ประกอบการเรียนการสอนของนักเรียน จะต้องเสนอผู้ช่วยฝ่ายวิชาการเพื่อพิจารณาอนุญาตทุกครั้ง

๕. สำหรับนักเรียน ที่ให้มาใช้บริการถ่ายเอกสารได้เฉพาะนอกเวลาเรียนเท่านั้น หากอยู่ในช่วงเวลาเรียน

ต้องได้รับอนุญาตจากครูประจำวิชา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือครูโทรศัพท์แจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบล่วงหน้าทุกครั้ง

๖. สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการถ่ายเอกสาร จะต้องอำนวยความสะดวกในการให้บริการถ่ายเอกสาร

แก่ผู้มาขอรับบริการทุกคนด้วยความรวดเร็ว และด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดีเสมอ

สระว่ายน้ำ 

วัน-เวลา บริการ 

จันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๓๐ น.

เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุด 

เปิดเวลา ๑๐.๐๐-๑๘.๓๐ น. 

อัตราค่าบริการ : ชำระค่าลงสระครั้งละ ๓๐ บาทต่อคน 

ระเบียบข้อบังคับในการใช้สระว่ายน้ำ

๑. ผลัดเปลี่ยนเครื่องแต่งกายในห้องที่จัดไว้

๒. เก็บเสื้อผ้า กระเป๋า ฯลฯ ไว้ในล็อคเกอร์ และฝากกุญแจไว้กับเจ้าหน้าที่

๓. อาบน้าสระผม ล้างเท้าทุกครั้งก่อนลงสระว่ายน้ำ 

๔. สุภาพสตรีให้สวมหมวกทุกครั้งก่อนลงสระว่ายน้ำ

๕. ห้ามรับประทานอาหารหรือขนมบริเวณสระว่ายน้ำ

ข้อห้าม ก่อนลงสระว่ายน้า 

ผู้ปุวยหรือเป็นโรคผิวหนัง เป็นแผล หรือเป็นโรคอื่นอันเป็นภัยแก่ผู้อื่น 

ข้อห้าม เมื่ออยู่ในสระว่ายน้ำ

๑. ห้ามถ่มน้าลาย น้ำมูก บริเวณหรือในสระว่ายน้ำ

๒. ห้ามปัสสาวะในสระว่ายน้ำ

๓. ห้ามเล่น หรือหยอกล้อรุนแรงอันจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย