ระเบียบงานฝ่ายปกครอง

                                                                                  การควบคุมความประพฤติและบทลงโทษ 

เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนของโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา ตั้งใจศึกษา

เล่าเรียน มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย แต่งกายถูกระเบียบ สุภาพเรียบร้อย เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่

เป็นศิษย์ที่ดีของครู เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ส่งเสริมให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในทางที่ควร และให้เป็นไปตามระเบียบ

ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยาจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการควบคุมความประพฤติของ

นักเรียนนี้ขึ้น เพื่อเป็นการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนเป็นแนวทางที่จะให้นักเรียนได้ปฏิบัติไปในทางเดียวกันไว้

ดังนี้

๑.   คะแนนความประพฤติ ให้นักเรียนทุกคนที่มีความประพฤติคนละ ๑๐๐ คะแนน ในแต่ละปีการศึกษา

๒.   การตัดคะแนนความประพฤติ ให้ครูส่งแบบแจ้งผลการปฏิบัติการตามแบบฟอร์มของโรงเรียนที่ห้องฝ่ายปกครอง หรือห้องวัดผลและประเมินผลภายใน ๔๘ ชั่วโมง

๓.   การลบล้างความผิด ครูสามารถลบล้างความผิดโดยให้นักเรียน

กระทำความดีทดแทนได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าฝ่ายปกครอง

๔.   ระดับความผิด นักเรียนที่ประพฤติผิดมีบทลงโทษหนักเบา

๓ ระดับ คือ

  • ความผิดขั้นเบา คือ ความผิดที่ไม่ร้ายแรง เห็นสมควรได้รับความช่วยเหลือ แนะแนว ตักเตือน

เพื่อให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น และไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำอีก

– ไม่รักษาความสะอาดของตนเองและส่วนรวม

– แต่งกายผิดระเบียบเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ

– ขัดคำสั่งครูเกี่ยวกับการเรียน

– แสดงกิริยาวาจาไม่เหมาะสมกับความเป็นนักเรียน

– ไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนและส่วนรวม

– นำโทรศัพท์มือถือมาโรงเรียน

– ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

         ๒)   ความผิดขั้นกลาง คือ ความผิดที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม ไม่ร้ายแรง หรืออาจ

เป็นเหตุให้เกิดความผิดร้ายแรงต่อไป

– ประพฤติตนไปในทางชู้สาว ให้ความสนิทสนมกับเพื่อต่างเพศเกินขอบเขตที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้

– ประพฤติตนไม่สุภาพเรียบร้อย

– แต่งกายฝ่าฝืนระเบียบของทางโรงเรียน

– ไม่มีสัมมาคารวะต่อครู ขัดคำสั่ง แสดงกริยาวาจาไม่สุภาพส่อถึงความไม่เคารพครู

– มาโรงเรียนสายโดยไม่มีเหตุผลสมควร

– หนีเรียนในบางคาบเรียน

– ผมยาวเกินระเบียบที่ทางโรงเรียนกำหนดหรือตัดผมผิดระเบียบ

– ก้าวร้าว ข่มเหง รังแกเพื่อนักเรียน และยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิด

– กล่าวเท็จและแสดงกริยาล้อเลียนครู

– ปลอมลายเซ็นครูหรือผู้ปกครอง

– ความผิดอื่น ที่มีลักษณะร้ายแรงทำนองเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น

         ๓)   ความผิดร้ายแรง คือ ความผิดทั้งหลายที่นำความเสื่อมเสียมาสู่โรงเรียนและส่วนรวมอย่างร้ายแรง

หรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือเป็นความผิดที่กระทบกระเทือนต่อระเบียบวินัยและศีลธรรมอันดี

เช่น        – ประพฤติผิดประเวณี

– ลักทรัพย์

– ทำร้ายร่างกายครูหรือเพื่อนักเรียน

– พกพาอาวุธมาโรงเรียน หรือมีไว้ในครอบครอง

– เที่ยวกลางคืนหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียน

– ทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน หรือบุคคลอื่น หรือสาธารณสมบัติโดยเจตนา

– มีความประพฤติหรือแสดงกิริยาวาจาในลักษณะก้าวร้าว ลบหลู่ ดูหมิ่นครู

– แสดงตนเป็นนักเลงอันธพาลหรือรีดไถ กรรโชกทรัพย์

– ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของโรงเรียน

– หนีโรงเรียน

– ทะเบาะวิวาทขั้นรุนแรงทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

– ประพฤติชั่วหรือทำการใด ๆ ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่โรงเรียน

๕.     การลงโทษและการตัดคะแนนความประพฤติ ให้ครูฝ่ายปกครองตัดสินตามเกณฑ์ความผิด

ที่กำหนดไว้

๖.   ความผิดอื่นใดที่มิได้กำหนด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายปกครอง

๗.   นักเรียนที่ถูกตัดคะแนน ๔๐ คะแนนขึ้นไป ซึ่งเห็นว่าสมควรได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายแนะแนว

เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขและช่วยเหลือต่อไป

๘.   นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๗๐ คะแนน โรงเรียนจะไม่ออกใบรับรองความประพฤติให้

๙.   นักเรียนชั้น ม.๓ ที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๗๐ คะแนน ทางโรงเรียนจะไม่รับเข้าเรียนในระดับ

ม.๔ ในปีการศึกษาต่อไป

๑๐. นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๗๐ คะแนน ให้ฝ่ายปกครองทำหนังสือบันทึกและรายงาน

ให้หัวหน้าสถานศึกษาทราบพร้อมทั้งเชิญผู้ปกครองของนักเรียนมาทำทัณฑ์บน

๑๑.     นักเรียนที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๘๐ คะแนนขึ้นไป ให้ฝ่ายปกครองทำหนังสือ

ขั้นตอนการพิจารณาความผิด 

คณะกรรมการฝ่ายปกครองพิจารณาบทลงโทษนักเรียน มีจำนวน ๘ คน ประกอบด้วย

๑. หัวหน้าฝ่ายปกครอง                   ประธานกรรมการ

๒. ครูในฝ่ายปกครองในระดับ ๔ คน     กรรมการ

๓. หัวหน้าฝ่ายปกครองเชิญครูอีก ๓ คน กรรมการ

 

กรณีการไล่ออก มีขั้นตอนปฏิบัติ ๓ ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑

                 คณะกรรมการฝ่ายปกครองเชิญครูประจำชั้นร่วมรับฟัง ชี้แจง และให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยไม่มีสิทธิ์

ออกเสียงการลงมติใด ๆ ของฝ่ายปกครองต้องไม่น้อยกว่า ๕ เสียงจาก ๘ เสียง จึงถือเป็นมติ

ขั้นตอนที่ ๒

                 หัวหน้าฝ่ายปกครองและครูฝ่ายปกครองในระดับรวม ๕ คน มติของฝ่ายปกครองไม่น้อยกว่า

๓ เสียงจาก ๘ เสียง จึงถือเป็นมติ

ขั้นตอนที่ ๓

                 หัวหน้าฝ่ายปกครองนำเรื่องพร้อมข้อมูลชี้แจงต่ออาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการ เพื่อขออนุมัติผล

การพิจารณา ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการให้ออก

บทลงโทษนักเรียนทั้ง ๓ ขั้นตอนที่อยู่ในระดับเบา ระดับกลาง และระดับร้ายแรง มีดังนี้